วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อการสอนคณิตศาสตร์



https://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html ได้รวบรวมไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟิล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ค สไลด์ ฟิล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟิล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น
แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
https://2maneerat053.blogspot.com/2015/12/blog-post.html ได้รวบรวมไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟิล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ค สไลด์ ฟิล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟิล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
https://mataveeblog.wordpress.com/2016/02/15/  ได้รวบรวมไว้ว่า ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช่ถ่ายทอดหรือนำความรู้ ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการสอน (Instruction Media)
ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอน (Instructional Media or Teaclning Media) สื่อการสอน (Educational media) อุปกรณ์ช่วยสอน (Teaching Aids) เป็นต้น ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มารวมกันว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational) ซึ่งหมายถึงการนำเอาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนสื่อการเรียนการสอน  หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น  อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอนสื่อการศึกษา  เป็นต้น
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
1.       ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน แต่มิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง เป็นสื่อที่ง่ายในการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น
2.       ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
3.       ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด
4.       ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ
5.       ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เรียนว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนถูกต้องมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการประเมินจากคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจจะมีภาพประกอบด้วยก็ได้
สรุป
สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

https://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561

https://2maneerat053.blogspot.com/2015/12/blog-post.html [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561
 https://mataveeblog.wordpress.com/2016/02/15/ [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561






นวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์



https://sureewan687.blogspot.com/2009/11/blog-post_23.html ได้รวบรวมว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการ เครื่องมือ หรือ สื่อใหม่ๆ ที่ทำให้งานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้ว่าวิธีการ เครื่องมือหรือสื่อใหม่ๆ นั้น จะเคยใช้ที่อื่นได้ผลดีมาแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่ใหม่ ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรม(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2534 : 39)
นวัตกรรม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติ (สวัสดิการสำนักงาน ก.ค. 2542 : 46)
นวัตกรรม (Innovation) มักเน้นไปที่การสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบระบบ(planned change) การคิดค้น การแสวงหา ปรับปรุง หาวิธีการขึ้นใหม่ (โกวิท ประวาลพฤกษ์กมล ภู่ประเสริฐและสงบ ลักษณะ. ม.ป.ป. : 45)
นวัตกรรมการเรียนการสอนคืออะไร
นวัตกรรมการเรียนการสอน หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆที่นำมาใช้แล้วทำ ให้คุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอนสูงขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าวิธีการหรือสื่อนั้นจะได้มาจากการที่ครูคิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือดัดแปลงปรับปรุงวิธีการหรือสื่อเดิมที่เคยใช้แล้ว หรือนำวิธีการหรือสื่อที่ใช้ได้ผลจากที่อื่นมาดัดแปลง หรือใช้เต็มรูปโดยไม่ดัดแปลงก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนเช่นกัน(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2534 : 39)
การที่จะตัดสินใจว่าวิธีการจัดการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนการสอนที่ครูได้คิดค้นและสร้างขึ้นใช้นั้นเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ ให้พิจารณาจากข้อบ่งชี้และตัวอย่างต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนการสอนที่คิดค้นขึ้นนั้น ใหม่สำหรับโรงเรียนของเรา แม้ว่าจะเก่า
สำหรับโรงเรียนอื่น ก็ถือว่าการจัดการเรียนการสอนที่คิดค้นขึ้นนี้เป็นนวัตกรรม เช่น การที่ครูนำแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนมาทดลองใช้ในห้องเรียนของตนเอง แม้ว่าการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนจะเป็นแนวคิดที่แพร่หลายใช้กันในหลายที่หลายโรงเรียนแล้วแต่ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับโรงเรียนนี ก็ถือว่าการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนนี้
2. การจัดการเรียนการสอนที่คิดค้นขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เคยมีผู้คิดและนำมาใช้แล้ว แต่ใช้ไม่ได้ผลเพราะสภาพแวดล้อมและสิ่งต่างๆ ไม่เอื้ออำนวย แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งแวดล้อมและระบบต่างๆ เอื้ออำนวย จึงได้ฟื้นฟูและนำมาทดลองใช้ใหม่ ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนในขณะนี้ เช่นเดิมครูผู้สอนเคยนำวิธีการจัดชั้นเรียน โดยให้นักเรียนปกครองกันเองมาใช้ในห้องเรียนแต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะผู้ปกครองไม่เข้าใจหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้มีการเผยแพร่ความรู้และแนวคิดในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการให้นักเรียนปกครองกันเองว่า สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยการปกครองประเทศ และครูเห็นว่าผู้ปกครองมีทัศนคติเกี่ยวกับการปกครองตนเองของนักเรียนเปลี่ยนไป จึงฟื้นฟูนำแนวคิดในการจัดชั้นเรียนโดยให้นักเรียนปกครองกันเองมาใช้ในห้องเรียน
3. การจัดการเรียนการสอนที่คิดขึ้นใหม่ เพราะเกิดมีสถานการณ์ใหม่ที่มีส่วนประกอบต่างๆ รวมกันเป็นระบบใหม่ขึ้น หรือมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพร้อมกันกับความคิดที่จะพัฒนาการเรียนการสอนพอดี และครูมองเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น เดิมครูฉุยฉายเคยคิดที่จะจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนไป และสามารถตรวจสอบผลการเรียนของตนไปด้วยพร้อมกัน แต่ครูฉุยฉายไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถหาสื่อการเรียนหรือเทคโนโลยีใดที่สอดคล้องกับแนวคิดของตนมาใช้ได้ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้ได้ง่ายขึ้น มีสมรรถนะที่สามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้สูง ครูฉุยฉายจึงนำแนวคิดของตนมาสร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ จัดเป็นระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นในโรงเรียน
4. การจัดการเรียนการสอนที่คิดขึ้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้และไม่ได้ผล เช่น ผู้บริหารโรงเรียนไม่เห็นด้วย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้บริหารโรงเรียนเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่สนับสนุน ครูก็สามารถนำแนวคิดนั้นขึ้นมาทดลองใช้ใหม่ได้ เช่น ครูดำรง มีความคิดที่จะนำเรื่องรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มเข้ามาใช้ในโรงเรียนเพื่อฝึกให้นักเรียนได้รู้และสามารถทำงานกลุ่มร่วมกันได้แต่ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่า การสอนของครูในห้องเรียนนั้นได้เน้นให้นักเรียนได้เรียนและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอยู่แล้ว ยังไม่จำเป็นที่จะต้องนำเรื่องรูปแบบการฝึกทักษะทำงานกลุ่มมาใช้ในห้องเรียน ครูดำรงจึงไม่สามารถที่จะทดลองเรื่องนี้ได้ ต่อมาผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเปลี่ยนไปเห็นว่าการที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยสอดแทรกเรื่องการเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เข้าไปในการเรียนการสอนปกตินั้นยังไม่เพียงพอ ครูควรต้องฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องรูปแบบและทักษะการทำงานกลุ่มเพิ่มเติม จึงได้สนับสนุนให้ครูดำรงนำเรื่องรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มเข้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน
5. การจัดการเรียนการสอนที่ครูคิดขึ้นนั้น เป็นความคิดริเริ่มจริงๆ เป็นการคิดขึ้นจากการสังเคราะห์หลักการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้และประสบการณ์ เป็นแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหม่ และนำมาทดลองใช้ เป็นต้น
นวัตกรรมการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ โดยครูสามารถคิดได้จาก หลักการสอนทั่วไป หลักการสอนในกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ จิตวิทยาการเรียนรู้ ปัญหาในห้องเรียน และการประยุกต์จากประสบการณ์ของครูเอง

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534 : 44 – 45) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนว่า อาจจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภท ได้แก่
1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับครู และสำหรับนักเรียน
2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีสอน และประเภทสื่อ
3. จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผลผลิต เน้นเทคนิคกระบวนการ และเน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ
อย่างไรก็ตาม วิธีการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการคิดค้น พัฒนา หรือสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะของนวัตกรรมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีอุปมาอุปมัย ฯลฯ
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แม้ว่าการแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนออกเป็นประเภทเทคนิคการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการคิดค้นนวัตกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าครูจะสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทใด เทคนิควิธีหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ตาม ในขั้นตอนการผลิตและการใช้ในห้องเรียนนั้น ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลิตและใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการก็จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนประกอบ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ต้องนำมาใช้ประกอบเทคนิควิธีสอนเช่นกัน

หลักการพิจารณาเพื่อนำนวัตกรรมมาใช้
การที่จะนำนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น หรือที่มีอยู่แล้ว มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนมีหลักการพิจารณา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2534 : 45)
1. ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือพัฒนา
2. มีความน่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน คือมีผลการทดลอง ทฤษฎี หรือหลักการรองรับ
3. สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
4. มีหลักฐานยืนยันว่าเคยทดลองใช้ในสถานการณ์จริงแล้ว และสามารถแก้ปัญหาได้

กระบวนการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน
การแสวงหานวัตกรรมการเรียนการสอนต้องอาศัยพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน หลักการสอน ผลงานวิจัย หรือประสบการณ์ในการทำงานเป็นหลักอ้างอิง กล่าวคือมีหลักการที่ใช้อ้างอิงได้ว่า การแสวงหานวัตกรรมนั้นๆ ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชา น่าเชื่อถือว่า จะสามารถใช้พัฒนางานการเรียนการสอนให้บังเกิดผลดีได้ และนอกจากจะมีทฤษฎีและหลักการหรือผลการวิจัยรองรับแล้ว การแสวงหานวัตกรรมต้องดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอนมีการวางแผนล่วงหน้า มีการทดลองใช้และปรับปรุงข้อบกพร่อง จึงจะทำให้ได้นวัตกรรมที่มีคุณภาพ
การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ได้กำหนดกระบวนการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้น ดังนี้
1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2. คิดค้นนวัตกรรมและวางแผนสร้างนวัตกรรม
3. สร้างนวัตกรรม
4. ทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
5. ปรับปรุงนวัตกรรม
แนวทางการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นดังนี้
ขั้นที่ 1 : ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ปัญหาและหาจุดที่จะพัฒนา หลังจากที่ครูได้ทราบปัญหาและระบุสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ครูต้องศึกษาหลักการสอน ผลงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดที่จะพัฒนา เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมให้สามารถพัฒนางานจุดนั้นได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น ถ้าต้องการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ชั้น ป.6 ครูก็จะต้องศึกษาหลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์และโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ที่มีผู้ศึกษาค้นคว้าและทดลองไว้แล้ว นำมาเป็นหลักอ้างอิงในการสร้างนวัตกรรมการสอนคณิตศาสตร์ด้านการแก้โจทย์ปัญหา
การทำเช่นนี้ย่อมทำให้นวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้นมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ เชื่อถือได้ และมีแนวโน้มว่าจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนได้จริง
ขั้นที่ 2 : คิดค้นและวางแผนสร้างนวัตกรรม ก่อนที่จะสร้างนวัตกรรมหรือนำนวัตกรรมใดๆ มาใช้ จำเป็นต้องมีการคิดและวางแผน ไว้ก่อนล่วงหน้าในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการนำนวัตกรรมที่เคยใช้ได้ผลดีจากที่อื่นมาใช้เต็มรูปหรือการนำนวัตกรรมที่เคยใช้ที่อื่นมาเพียงบางส่วน แล้วพัฒนาส่วนอื่นเพิ่มเติม หรือการนำนวัตกรรมในอดีตที่เคยใช้แล้วขึ้นมาใช้ใหม่ หรือการคิดริเริ่มสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้การใช้หรือการสร้างนวัตกรรมนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในการคิดและวางแผนสร้างนวัตกรรม ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม ผู้สร้างหรือผู้นำนวัตกรรมมาใช้ จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า จะนำมาใช้หรือสร้างขึ้นเพื่อพัฒนางานจุดใด และต้องการให้บังเกิดผลสำเร็จอย่างไร
2. หลักการและแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของนวัตกรรม ผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องสร้างโดยอาศัยหลักการและแนวคิดต่างๆ ที่ได้ศึกษาไว้เป็นพื้นฐาน ส่วนผู้ที่นำนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วมาใช้จะต้องทราบหลักการที่เป็นพื้นฐานของนวัตกรรมนั้นด้วย เพื่อให้ดำเนินการได้ถูกต้อง เช่นหลักการสอนข้อหนึ่งมีว่า การเสริมแรงบวก หลังจากผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือถูกต้อง จะทำให้ผู้เรียนต้องการกระทำสิ่งนั้นอีกจากหลักการสอนนี้ ครูจึงควรสร้างสื่อการเรียนที่ออกแบบให้ผู้เรียนได้ทราบผลการปฏิบัติโดยทันที หรือออกแบบให้มีการเสริมแรงแก่นักเรียนที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องนั้นอีกหลักการสอนข้อหนึ่งมีว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองซึ่งแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจและมีแรงจูงใจในการเรียน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
จากหลักการสอนนี้ ครูจึงสร้างชุดการเรียนด้วยตนเองขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคน ได้เรียนตามระดับความสามารถของตน ไม่ต้องแข่งขันกับผู้อื่น ทั้งนี้เพราะต้องการให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุขและพึงพอใจ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่เป็นพื้นฐาน
3. ขอบข่ายและโครงสร้างของนวัตกรรม เป็นส่วนที่ระบุถึงประเภทของนวัตกรรม ระดับชั้น วิชา ผู้ใช้นวัตกรรม รวมทั้งการกำหนดลักษณะปรากฏของนวัตกรรมว่า ควรประกอบด้วยสิ่งต่างๆ อะไรบ้างที่สังเกตได้ด้วยตา เช่น ชุดการเรียนด้วยตนเอง ประกอบด้วยบัตรเนื้อหา บัตรคำสั่ง ข้อทดสอบ บัตรเฉลย เป็นต้น
4. ลักษณะทางเทคนิคของนวัตกรรม ผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องคิดค้นแนวทางใหม่ และสนองไว้ในนวัตกรรม เช่น ถ้าเป็นชุดการสอนจะต้องคิดเทคนิควิธีสอน หรือขั้นตอนของกิจกรรมการสอน ที่จะบรรจุไว้ในชุดการสอน
5. ลักษณะการนำไปใช้และเงื่อนไข ผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องวางแผนและกำหนดถึงลักษณะการนำนวัตกรรมไปใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจกล่าวถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือหลายประเด็นตามความเหมาะสม เช่น การเตรียมตัวครู การจัดห้องเรียน การทดสอบ หรือกล่าวถึงเทคนิคเฉพาะของการใช้นวัตกรรม
6. การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ผู้สร้างควรวางแผนในเรื่องการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมไว้ว่าจะใช้วิธีใด ดำเนินการกี่ครั้ง
นอกจากประเด็นต่างๆ ข้างต้นแล้ว ผู้สร้างนวัตกรรมควรมีการวางแผนด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมไว้ด้วย เช่น ด้านงบประมาณ ระยะเวลาในการสร้าง บุคลากรที่ต้องการ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียม และขั้นตอนการสร้าง
ขั้นที่ 3 : สร้างนวัตกรรม วิธีการและขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมแต่ละประเภทย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นครูจะต้องศึกษารายละเอียดของนวัตกรรมนั้นๆ เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการสอน อาจสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้
2. กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ออกแบบสื่อเสริม
4. ลงมือเขียน
5. ตรวจสอบคุณภาพขั้นแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ
6. ทดลองในระยะสั้น เพื่อการปรับปรุงเนื้อหา สาระ
7. นำไปใช้ในการพัฒนางาน

ขั้นที่ 4 : ทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน เมื่อครูได้สร้างนวัตกรรมตามแผนที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำไปทดลองใช้จริง ต้องทดลองใช้กับกลุ่มย่อยเพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นถูกต้องตาม

หลักวิชาและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริงโดยต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. ปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในขณะสร้างนวัตกรรมและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจผลงานเป็นระยะเพื่อปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมที่สร้างขึ้นให้สมบูรณ์
2. เมื่อสร้างเสร็จแล้ว นำสื่อการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นให้นักเรียนและครูอ่านเพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ในสื่อนั้นว่า เหมาะสมที่จะใช้กับเด็กหรือไม่ เมื่อนักเรียนอ่านแล้วนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านตรงกันหรือไม่ถ้าส่วนไหนนักเรียนอ่านแล้วยังเข้าใจไม่ตรงกัน ก็ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป
3. นำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มย่อยประมาณ 10 คนเพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
https://2maneerat053.blogspot.com/2015/12/blog-post.html ได้รวบรวมไว้ว่า  นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรม คือ อะไร
เดี๋ยว นี้ไปไหนมาไหน ก็ได้ยินแต่คนพูดถึงนวัตกรรม จนกลายไปเป็นคำศัพท์ทางการตลาดไปแล้ว แล้วจริงๆ ไอ้เจ้า นวัตกรรม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation คืออะไร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
1. ธรรมชาติ คือ สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ก้อนดิน ผืนน้ำ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
2. วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่อธิบายธรรมชาติ เช่น ทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมฝนถึงตก ทำไมลูกทุเรียนจึงตกดิน
3. เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์ มาทำใช้ในทางปฏิบัติ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี RFID
4. นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น นำนาโนเทคโนโลยี ไปใส่ในเสื้อผ้า ทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ หรือ การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในพลาสติก ทำให้พลาสติกเกิดรูพรุนขนาดเล็กสำหรับใช้กรองเชื้อโรค การนำนาโนเทคโนโลยีใส่ในกระจกทำให้ฝุ่นไม่เกาะกระจก จึงเป็นกระจกที่ไม่ต้องการทำความสะอาด
จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
 นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา อันได้แก่ แนวคิด เทคนิค วิธีการกระบวน การ แนวปฏิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้แล้วจากที่อื่น แต่นำมาใช้ใหม่ที่นี่
2. เป็นสิ่งที่เคยใช้มาแล้วจากที่อื่น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เพิ่งนำมาทดลองใช้
4. เป็นสิ่งที่ผลิต/สร้างขึ้นใหม่และทดลองใช้ที่นี่เป็นครั้งแรก
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดี
บทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอน
แบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตร
วิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาล
การบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์(2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า ความหมาย องค์ประกอบและขั้นตอนของนวัตกรรม
คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ      “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”
          ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา
         
 องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดีตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
ชั้นตอนของนวัตกรรม  
1.การคิดค้น (Invention)  เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม
2.การพัฒนา ( Development)  เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข
3.ขั้นนำไปใช้จริง(Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
4.ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย
สรุป
นวัตกรรมการเรียนการสอน หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆที่นำมาใช้แล้วทำ ให้คุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอนสูงขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าวิธีการหรือสื่อนั้นจะได้มาจากการที่ครูคิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือดัดแปลงปรับปรุงวิธีการหรือสื่อเดิมที่เคยใช้แล้ว หรือนำวิธีการหรือสื่อที่ใช้ได้ผลจากที่อื่นมาดัดแปลง หรือใช้เต็มรูปโดยไม่ดัดแปลงก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน
หลักการพิจารณาเพื่อนำนวัตกรรมมาใช้
การที่จะนำนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น หรือที่มีอยู่แล้ว มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนมีหลักการพิจารณา ดังนี้ 
1. ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือพัฒนา
2. มีความน่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน คือมีผลการทดลอง ทฤษฎี หรือหลักการรองรับ
3. สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
4. มีหลักฐานยืนยันว่าเคยทดลองใช้ในสถานการณ์จริงแล้ว และสามารถแก้ปัญหาได้
ที่มา
สุรีย์วรรณ. (2552). https://sureewan687.blogspot.com/2009/11/blog-post_23.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2561
https://2maneerat053.blogspot.com/2015/12/blog-post.html. [ออนไลน์] เข้า          ถึงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2561
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2555).  https://www.gotoknow.org/posts/492060. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2561

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )


วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )
http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=3342   ได้รวบรวมวิธีการสอน
แบบระดมสมองไว้ว่า การระดมสมอง  หมายถึง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร
ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก  ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง
ขั้นตอนในการระดมสมอง
             1. กำหนดปัญหา
             2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและ บันทึกผล
             3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
             4. คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
             5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้ )
             6. อภิปรายและสรุปผล
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
             1. ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและมีคุณค่ามากที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง
             2. ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตัวผู้เรียนสูง และฝึกการยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน
             3. ได้คำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในเวลาอันสั้น
             4. ส่งเสริมการร่วมมือกัน
             5. ประหยัดค่าใช้จ่ายและการจัดหาสื่อเพิ่มเติมอื่น 
ข้อจำกัด
             1. ประเมินผลผู้เรียนแต่ละคนได้ยาก
             2. อาจมีนักเรียนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนครอบครองการอภิปรายส่วนใหญ่
             3. เสียงมักจะดังรบกวนห้องเรียนข้างเคียง
             4. ถ้าผู้จดบันทึกทำงานได้ช้า การคิดอย่างอิสระก็จะช้าและจำกัดตามไปด้วย
             5. หัวเรื่องต้องชัดเจนรัดกุม และมีประธานที่มีความสามารถในการดำเนินการ และสรุปการอภิปราย ทั้งในกลุ่มย่อย และรวมทั้งชั้น
file:///C:/Users/lenovo_27iT/Desktop/แผนระดมสมอง.pdf  ได้กล่าวถึงแผนการสอนไว้

ที่มา

http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=3342. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561.
file:///C:/Users/lenovo_27iT/Desktop/แผนระดมสมอง.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561


วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคและรูปแบบการจัดการเรียนรู้

เทคนิคและรูปแบบการจัดการเรียนรู้

1.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย
2.รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ 
3.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย 
4.รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ 
5.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก 
6.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นด้านจิตพิสัย
7.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูมและคณะ
8.รูปแบบการเรียนการสอนโดยซักค้าน 
9.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ 
10.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย
11.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน 
12.รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ 
13.รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 
14.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ
15.รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 
16.รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย 
17.รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ 
18.รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ 
19.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นบูรณาการ
20.รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง 
21.รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างเรื่อง 
22.รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
23.รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
24.การจัดการเรียนรู้แบบใช้คาถาม
25.วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
26.วิธีสอนแบบโครงงาน
27.การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
28.แบบค้นพบ
29.แบบนิรนัย
30.แบบอุปนัย 
31.การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
32.การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
33.การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
34.รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
35.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย
36.รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
37.รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ
38.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก
39.แบบร่วมมือร่วมใจ
40.การสอนแบบโครงสร้างความรู้
41.การสอนแบบศูนย์การเรียน
42.การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
43.การสอนแบบบูรณาการ
44.การสอนแบบถามตอบ 
45.การสอนด้วยรูปแบบซิปปา
50.การสอนแบบโครงงาน
51.การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่
52.การสอนโดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน
53.การสอนแบบทดลอง
54.การสอนแบบโครงการ
55.การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
56.การสอนแบบอภิปราย
57.การสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ
58.วิธีสอนแบบหน่วย

ที่มา

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ชาตรี เกิดธรรม. (2542). http://edu.vru.ac.th/sct/cheet%20downdload/2.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561.


ชิระ สุ่ยวงษ์. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/549866. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561.

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

https://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html ได้รวบรวมไว้ว่า สื่อการสอน   คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีกา...